สามสำนักมหาอำนาจ
ผู้นำ |
ตระกูลคุโจ (เทนเรียว) ตระกูลฮิอิรางิ (คันโจ) ตระกูลคามิซาโตะ (ยาชิโร่) |
ฐานที่มั่น |
Inazuma |
ชื่อในภาษาอื่น |
|
ภาษาจีน |
三奉行 Sān-fèngxíng |
ภาษาญี่ปุ่น |
三奉行 San-bugyou, “สามคณะกรรมการ” |
ภาษาเกาหลี |
삼봉행(三奉行) Sam-bonghaeng |
สามสำนักมหาอำนาจ หรือซังบุเกียว (ภาษาญี่ปุ่น: 三さん奉ぶ行ぎょうSan-bugyou) เป็นคำเรียกรวมสามหน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ดูแลปัญหาต่าง ๆ ในประเทศอินาสึมะ มีความใกล้เคียงกันกับ Liyue Qixing ผู้ดูแลการค้าทั้งแปดสาขาในเมืองหลีเยว่ และกองอัศวินแห่ง Favonius ในเมืองมอนด์ชตัดท์
ผู้แทนของสามสำนักมหาอำนาจจะมาประชุมกันที่ปราสาทเทนชูคาคุ เพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาประเทศ องค์หญิงคามิซาโตะ อายากะ กล่าวว่าเมื่อใดก็ตามที่สำนักยาชิโร่พยายามออกมติเพิกถอนคำสั่งล่าวิชั่น อีกสองหน่วยงานทั้งเทนเรียวและคันโจจะใช้สิทธิยับยั้งมติอย่างทันควัน ซึ่งหมายความว่าสามสำนักมหาอำนาจมีระบบบริหารอย่างสภาหรือองคมนตรีที่ต้องมีการนำเสนอญัตติให้ผ่านเสียก่อน และทั้งสามสำนักมหาอำนาจจะไม่สามารถยื่นความเห็นโดยตรงต่อพระนางบาอัลได้ ระบบนี้มีความคล้ายคลึงกับเฮียวโจชู (ภาษาญี่ปุ่น: 評定衆) ซึ่งเป็นส่วนบริหารประเทศสูงสุดในยุคสมัยของรัฐบาลโทกุกาวะ และทำหน้าที่เป็นสภารวมข้าราชการกระทรวงสำคัญๆทั้งหมด
สามสำนักมหาอำนาจ
ชื่อหน่วยงาน | ตระกูลนำหน่วยงาน | ข้าหลวงใหญ่ | ความรับผิดชอบ |
---|---|---|---|
สำนักเทนเรียว | ตระกูล Kujou | คุโจ ทากะยูกิ | ฝ่ายกลาโหมแห่งอินาสึมะ ควบคุมงานกองทัพและงานตำรวจ บังคับใช้ คำสั่งล่าวิชั่น บังคับใช้ ฎีกาซังโกคุ (แก่ผู้เข้าเมืองผิดกฎหมาย) |
สำนักคันโจ | ตระกูล Hiiragi | ฮิรางิ ชินสึเกะ | ฝ่ายการคลังแห่งอินาสึมะ บริหารงบประมาณประเทศ กำกับดูแลชายแดนอินาสึมะ บริหารกิจการค้าขายและราชการ บังคับใช้ ฎีกาซังโกคุ (แก่ผู้เข้าเมืองถูกกฎหมาย) |
สำนักยาชิโร่ | ตระกูล Kamisato | คามิซาโตะ อายาโตะ | กระทรวงวัฒนธรรมแห่งอินาสึมะ รับผิดชอบงานพิธีกรรม งานเฉลิมฉลอง และเทศกาลพื้นบ้าน ดูแลงานศาลเจ้าและวิหาร ถือว่าเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดในพระนางบาอัลที่สุด |
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!