พันธมิตร |
Barbatos กองอัศวินแห่ง Favonius |
ฐานที่มั่น |
Mondstadt |
ชื่อในภาษาอื่น |
|
ภาษาจีน |
四风守护 Sìfēng Shǒuhù, “The Four Wind Guardians” |
ภาษาญี่ปุ่น |
四風守護 Shifuu Shugo, “The Four Wind Guardians” |
ภาษาเกาหลี |
바람 사신수 Baram Sasinsu, “The Four God-Guardians of the Wind” |
สี่วายุ
(ภาษาอังกฤษ: Four Winds) คือสี่เทพปกปักษ์ที่เทพเจ้าแห่งลม Barbatos วางใจมอบหมายให้ทำการปกป้องเมือง Mondstadtก่อนที่ท่านจะหายตัวไปเมื่อเวลาหนึ่งพันปีที่แล้ว สี่วายุประกอบไปด้วยหมาป่าแห่งทิศเหนือ ราชสีห์แห่งทิศใต้ มังกรแห่งทิศตะวันออก และวิหคแห่งทิศตะวันตก
ภาพรวม
มังกรแห่งทิศตะวันออก
Dvalin ผู้เป็นมังกรแห่งทิศตะวันออก เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของเทพเจ้า Barbatos และมีประชาชนสักการะมายาวนานที่สุดในหมู่สี่วายุ และถึงแม้ว่ามังกรธาตุจะมีเรื่องขัดแย้งกับเหล่าเทพเจ้ามานาน Barbatos สามารถเป็นมิตรกับ Dvalin ได้เมื่อ Barbatos สอนประชาชนให้ไม่ต้องกลัวมังกร Dvalin และสอนให้ Dvalin พูดภาษามนุษย์เป็น
หากทว่า ในเหตุการณ์มหาหายนะเมื่อห้าร้อยปีก่อน Dvalin ได้รับบาดเจ็บสาหัสหลังจากที่บินขึ้นไปสกัดกั้นต่อกรมังกรปีศาจนามว่า Durin ส่งผลให้ท่านต้องไปหลบพักรักษากายอยู่เป็นเวลาถึงห้าร้อยปี และเมื่อตื่นขึ้นมาได้พบว่าเมือง Mondstadt ได้หลงลืมท่านไปในเวลาห้าร้อยปีนั้นเสียแล้ว ด้วยความเดือดดาลที่ถูกทิ้งขว้างโดยผู้ที่ตนสาบานจะปกป้อง Dvalin ได้ทิ้งตำแหน่งหน้าที่มังกรตะวันออกของตนบ้าง และเริ่มบินโจมตีโฉบใส่เมือง Mondstadt ส่งผลให้ราษฎรใน Mondstadt ตั้งสมญาใหม่ให้ท่านว่าสตอร์มเทอร์เรอร์ ในท้ายที่สุดกลุ่มของนักเดินทาง, Paimon, Diluc, Jean และ Venti ได้ออกไปเคลียร์ความเข้าใจและช่วย Dvalin ให้พ้นจากแผนชักใยของ Abyss Order ได้สำเร็จ และถึงแม้ว่า Dvalin จะไม่เห็นตัวท่านเองเป็นมังกรแห่งทิศตะวันออกอีกต่อไป ผู้คนในเมือง Mondstadt ต่างกลับมาเชื่อใจท่านอีกครั้ง
หมาป่าแห่งทิศเหนือ
ตำแหน่งหมาป่าแห่งทิศเหนือมีผู้มีแนวโน้มถืออยู่สองรายด้วยกัน รายแรกคือ Lupus Boreas Andrius อดีตเทพเจ้าพายุน้ำแข็งและกษัตริย์ทิศเหนือผู้บัดนี้เป็นดวงวิญญาณปกครองแดนหมาป่า Wolvendom ท่านมีพลังฤทธานุภาพมหาศาลจนสามารถแสดงร่างกายหยาบทำจากน้ำแข็งขึ้นมาชั่วขณะได้ถึงแม้ว่าจะสิ้นชีพไปเป็นเวลานับพันปีแล้วก็ตาม
หากทว่า เมื่อสังเกตุดูจากหนังสือ Breeze Amidst the Forest Supplement – The Dragon Tome แล้วจะเห็นได้ว่าบรรณาศักดิ์หมาป่าแห่งทิศเหนือนั้นตกเป็นของผู้ดำรงตำแหน่งอัศวิน Boreas ซึ่งผู้มีสิทธิได้ขึ้นมาเป็นผู้นำอัศวินนั้นจะได้รับฉายาไม่เป็น “ราชสีห์” ก็ “สุนัขป่า” หากแต่ไม่เป็นที่แน่ชัดว่าประเพณีนี้นับรวมผู้ได้รับตำแหน่งเป็นสี่วายุด้วยหรือไม่
วิหารเทพหมาป่าจะตั้งอยู่ใกล้เคียงกับวิหารพันสายลมใน Starfell Valley เมื่อก่อนเคยเป็นพื้นที่ฝึกวิชา ก่อนที่ Andrius และฝูงหมาป่าจะย้ายถิ่นฐานไปตะวันตกและปักหลักลงในดินแดนวูล์ฟเวนด้อม
ราชสีห์แห่งทิศใต้
ราชสีห์แห่งทิศใต้นับได้ว่าเป็นตำแหน่งพิเศษในสี่วายุ เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ส่งต่อกันมาระหว่างผู้บัญชาการสูงสุด (และรักษาการตำแหน่ง) กองอัศวิน Favonius ผ่านยศศักดิ์ “อัศวิน Dandelion” หรือ อัศวิน Lionfang
อย่างไรก็ตาม คำอธิบายของดาบ Favonius ได้เขียนเอาไว้ว่าผบ.สูงสุดของกองอัศวินอาจมียศเป็น “สุนัขป่า” แทนที่จะเป็น “ราชสีห์” ซึ่งทำให้ข้อมูลที่เคยกล่าวมาข้างต้นขาดความน่าเชื่อถือ อาจมีความเป็นไปได้ว่าประเพณียศสุนัขป่าอาจไม่เป็นที่ทำตามกันอีกในตลอดเวลาห้าร้อยปี และปัจจุบันมีเพียงยศราชสีห์ที่ถูกส่งต่อกันมาในกองอัศวิน
มีตำนานเล่าขานกันว่าดอกแดนดิไลออนเป็นตัวแทนให้พรจากราชสีห์แห่งทิศใต้
วิหารราชสีห์มีที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งนกเหยี่ยว บนเนินเพลงสายลม
วิหคแห่งทิศตะวันตก
ตำแหน่งวิหคแห่งทิศตะวันตกเองก็มีข้อมูลขัดแย้งเช่นกันว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครอง ความเชื่อทั่วไปเชื่อกันว่าเมื่อวีรสตรี Vennessa ได้เสด็จขึ้นสู่ Celestia นางได้กลายมาเป็นวิหคแห่งทิศตะวันตก และแม้กระทั่งคำกล่าวกำกวมจาก Dainsleif ตัวละครในเกมผู้เดียวที่เคยพูดถึงเหยี่ยวตะวันตกก็บอกเช่นกันว่าเหยี่ยวตะวันตกคือ Vennessa หากทว่าตามหลักฐานในหนังสือ Breeze Amidst the Forest กองอัศวินทั้งกองทัพคือ “เหยี่ยว” ตะวันตก
วิหารเหยี่ยวมีตำแหน่งอยู่ที่ Wind riseบนเนินเพลงสายลม ตั้งอยู่ระหว่างตัวเมือง Mondstadt และมหารุกขชาติที่กล่าวกันว่าเป็นที่ ๆ Vennessa ขึ้นสู่ดินแดน Celestia
สมาชิก
สมญานาม |
แหล่งที่มา |
|
Venti: The Four Winds |
Breeze Amidst the Forest |
|
หมาป่าแห่งทิศเหนือ | Andrius | อัศวิน Boreas (Ravenwood, ผู้ถือดาบใหญ่ Wolf’s Gravestone, Varka) |
ราชสีห์แห่งทิศใต้ | Vennessa | อัศวิน Lionfang (Vennessa, Arundolyn, Jean) |
มังกรแห่งทิศตะวันออก | Dvalin | Dvalin |
วิหคแห่งทิศตะวันตก | (ไม่ปรากฏ) | กองอัศวินแห่ง Favonius |
Leave a Reply
Want to join the discussion?Feel free to contribute!